สวนสัตว์ไบรท์ ซู (Bright Zoo) ในเมืองไลม์สโตน (Limestone) รัฐเทนเนสซีเปิดเผยว่า มีลูกยีราฟเกิดใหม่ลืมตาดูโลกเมื่อวันที่ 31 ก.ค.ที่ผ่านมา โดยตัวของมันเป็นสีน้ำตาลทั้งตัว ไม่มีลายจุดเหมือนยีราฟลายร่างแหทั่วไป ซึ่งทางสวนสัตว์เชื่อว่า เป็นยีราฟไม่มีลายตัวเดียวในโลกในขณะนี้

อย่างไรก็ตาม เดวิด ไบรท์ ผู้อำนวยการสวนสัตว์ไบรท์ซูบอกว่า นี่ไม่ใช่ยีราฟไร้ลายตัวแรกที่เคยพบในโลก โดยก่อนหน้านี้ ในปี 1972 เคยมีลูกยีราฟในสวนสัตว์อุเอโนะ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ที่เกิดมาไร้ลายเช่นกันคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

ขณะที่ในปี 2020 เคยมีการพบครอบครัวยีราฟสีขาวหายาก 3 ตัว ในประเทศเคนยา โดยยีราฟที่มีสีขาวทั้งตัวนั้นเกิดจากความผิดปกติในการสร้างเม็ดสีผิว ที่เรียกว่าภาวะด่างหรือลูซิสซึม (leucism) แต่ไม่ใช่ภาวะเผือก

ทางสวนสัตว์ระบุว่า ลูกยีราฟไร้ลายตัวนี้ตอนนี้สูง 1.8 เมตรแล้ว และอยู่ในความดูแลของแม่ยีราฟและเจ้าหน้าที่สวนสัตว์

ทั้งนี้ เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา (20 ส.ค.) ทางสวนสัตว์ประกาศว่าจะให้ประชาชนร่วมโหวตชื่อลูกยีราฟไร้ลายตัวนี้ จากชื่อภาษาสวาฮีลี 4 ชื่อที่คัดเลือกมาแล้ว ได้แก่ คิเปกี (Kipekee) ที่แปลว่า “มีเอกลักษณ์” ,ฟีร์ยาลี (Firyali) ที่แปลว่า “โดดเด่น” ,ชากีรี (Shakiri) ที่แปลว่า “สวยงามที่สุด” และจาเมลลา (Jamella) ที่แปลว่า “สวยงามอย่างยิ่ง”

สำหรับลายของยีราฟ สันนิษฐานว่ามีไว้สำหรับพรางตัว นอกจากนี้ ผิวที่อยู่ใต้ลายจุดยังมีระบบหลอดเลือดที่ช่วยให้ยีราฟระบายความร้อนผ่านกลางจุดแต่ละจุดได้

ยีราฟแต่ละตัวจะมีลายไม่เหมือนกัน โดยนักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า ลวดลายเหล่านี้ได้รับการถ่ายทอดจากแม่ยีราฟ

ทางสวนสัตว์หวังว่า ลักษณะที่ผิดปกติของลูกยีราฟตัวนี้จะช่วยให้ผู้คนหันมาสนใจปัญหาที่สัตว์ชนิดนี้กำลังเผชิญอยู่ในธรรมชาติและเล็งเห็นถึงความสำคัญของการอนุรักษ์ เนื่องจากประชากรยีราฟในธรรมชาติได้ลดลง 40 เปอร์เซ็นต์ในช่วงเวลา 30 ปีที่ผ่านมา

ยีราฟลายร่างแหเป็นสายพันธุ์ของยีราฟที่มีลายจุดสีน้ำตาลและส้ม มีถิ่นอาศัยอยู่ในทวีปแอฟริกา ขณะที่มูลนิธิอนุรักษ์ และได้รับการขึ้นบัญชีให้เป็นสัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์ในปี 2018 โดยมูลนิธิอนุรักษ์ยีราฟคาดว่า ทั่วโลกมียีราฟลายร่างแหเหลืออยู่ในธรรมชาติไม่ถึง 16,000 ตัว

 สวนสัตว์สหรัฐฯ เผยโฉม “ยีราฟไม่มีลาย” เชื่อเป็นตัวเดียวในโลก

By admin