จากกรณีประเด็นเรื่องค่าแรง 450 บาท ที่พรรคก้าวไกลใช้เป็นนโยบายในการหาเสียง ว่าจะดำเนินการภายใน 100 วัน หลังจากเป็นรัฐบาลนั้น กลายเป็นประเด็นร้อน ภาคเอกชน ต่างกังวลถึงผลที่จะตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ หากขึ้นทันทีอาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจภาพรวม และอาจจะทำให้ราคาสินค้าต่างๆ ปรับราคาเพิ่มขึ้น ขณะนี้กระแสในโซเชียลต่างแสดงความเห็นต่อเรื่องการขึ้นค่าแรง 450 บาทอย่างกว้างขวางนั้น
นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล บอกว่า เรื่องนโยบายค่าแรง 450 บาท พอมีการเปลี่ยนแปลง ก็จะต้องมีคนที่ได้ แล้วมีคนที่เสีย แต่ถ้าคนที่ได้มีถึง 99% ของประเทศที่ต้องการทำให้ประเทศไทยเศรษฐกิจโตด้วย และลดความเหลื่อมล้ำไปพร้อมกันก็น่าจะทำให้ตลาดกลับมาคึกคักได้อีกครั้ง โดยนโยบายค่าแรง 450 บาท ที่พรรคจะดำเนินการภายใน 100 วัน หลังได้เป็นรัฐบาลนั้น ต้องผ่านกระบวนการประชุมหารือ จากตัวแทนของรัฐบาล 5 คน นายจ้าง 5 คน และลูกจ้าง 5 คน ในแต่ละจังหวัด ซึ่งจะมีการหารือกันว่า ค่าจ้าง 450 บาท มาได้อย่างไร และจะช่วยลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับนายจ้างได้อย่างไร จะควบคุมสภาพเศรษฐกิจได้อย่างไร
แต่เหรียญมี 2 ด้าน ด้านหนึ่งขึ้นค่าแรง แต่อีกด้านจะพยายามลดต้นทุนให้ผู้ประกอบการ ซึ่งขณะนี้คณะกรรมการกำลังอยู่ระหว่างการทำงาน เพื่อช่วยดูว่าจะสามารถช่วยผู้ประกอบการได้อย่างไรบ้าง ทั้งเรื่อง การลดค่าไฟ ราคาน้ำมันดีเซล พร้อมกับเพิ่มสภาพคล่อง ด้วยการให้ผู้ประกอบการเข้าถึงเงินกู้ได้ง่ายขึ้นได้อย่างไร จะสามารถแบ่งเบาภาษีให้กับผู้ประกอบการได้อย่างไร และให้ความช่วยเหลือธุรกิจเอสเอ็มอี
เลือกตั้ง 2566 : “พิธา” มั่นใจปมหุ้นไอทีวี ไม่กระทบจัดตั้งรัฐบาล
“พิธา” ยันขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 450 บาท ย้ำมีหลักการไม่ได้ขึ้นตามใจตัวเอง
ยังยืนยันว่าใน 100 วันแรก ตามกฎหมายต้องให้ไตรภาคี ที่มีลูกจ้าง 5 คน นายจ้าง 5 คน และฝ่ายของรัฐ 5 คน มีการพูดคุยกัน ถ้าหากทางลูกจ้างเห็นด้วยว่า 450 บาทเป็นอัตราที่เหมาะสม อย่างที่บอกว่าถ้า 450 บาท คูณด้วย 10 วัน ต่อเดือน หรือ 20 วัน ต่อเดือน ขึ้นอยู่กับเวลาทำงานของแต่ละคน มันยังไม่ถึง10,000 บาทเลย แล้วตอนนี้ต้นทุนสูงมากในการใช้ชีวิต ซึ่งน่าจะเป็นไปได้ใน 100 วันแรก ว่าจะมีการเจรจากันเกิดขึ้น แต่ขณะเดียวกันก็ต้องใช้โอกาสนี้ เจรจากับนายจ้างหรือทางเอสเอ็มอี ที่กลัวมีผลกระทบว่า เวลาเราคุยเรื่องนี้แล้วเราคงไม่คุยกันเรื่องค่าแรงอย่างเดียว คุยกันเรื่อง ให้มีผลิตภาพของแรงงาน แล้วก็การดูแลของเอสเอ็มอีในการที่จะทำให้ผลกระทบจากค่าแรงได้รับการบรรเทาลง แล้วเปลี่ยนวิกฤตเป็นโอกาส ในการเพิ่ม Automation ให้กับการทำงานมากขึ้น รัฐก็จะมี package ในการช่วยประคับประคองตรงนี้ เพราะฉะนั้นไม่ต้องกังวลใจ
ส่วนธุรกิจขนาดใหญ่ จากการหารือเบื้องต้น กับผู้ประกอบการรายใหญ่ ต่างบอกว่าไม่น่าเป็นห่วงมากนัก เพราะจะเป็นโอกาสที่ดีที่จะเปลี่ยนจากการใช้แรงงานให้เป็นเทคโนโลยีใหม่ ดังนั้น ถ้าจะขึ้นค่าแรงไม่น่าจะมีปัญหา อย่างทาง เบอร์เกอร์คิง ระบุว่าขึ้นค่าแรงไม่เป็นไร แต่ขอให้มีเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำมารองรับการเปลี่ยนจากการใช้คนมาใช้เครื่องจักรทดแทน
ด้านความกังวลที่ธุรกิจขนาดใหญ่จะย้ายฐานการผลิตไปที่อื่นหรือไม่นั้น จากที่ติดตามฐานการผลิตต่างๆ ณ ปัจจุบัน แม้ยังไม่มีการขึ้นค่าแรง ก็มีการย้ายฐานการผลิตไปเป็นจำนวนมากแล้ว จึงเชื่อว่าค่าแรงไม่น่าจะเป็นปัจจัยที่ทำให้ธุรกิจขนาดใหญ่ย้ายฐานการผลิต
นายพิธา ยังบอกอีกว่า จากการสอบถามทราบว่าที่ย้ายฐานผลิตไปจากประเทศไทย เนื่องจากใน เวียดนาม หรือ ฟิลิปปินส์ ทำธุรกิจได้ง่ายกว่า กฎหมาย กฎข้อบังคับมีน้อยกว่า คอรัปชั่นในเวียดนามดีขึ้น ขณะที่ในประเทศไทยแย่ลง และประเทศที่ต้องการให้ธุรกิจขนาดใหญ่เข้าไปลงทุน นอกจากมีมาตรการลดภาษีให้แล้ว ยังมีเงินทุนสนับสนุนในการเข้าไปลงทุนในประเทศด้วย มีเขตการค้าเสีรีรองรับการส่งออก รวมถึงมีสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ อีกที่นักลงทุนจะตัดสินใจเข้าไปลงทุน ยอมรับค่าแรงเป็นหนึ่งในการตัดสินใจย้ายฐานการผลิตคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
ประเทศไทยต้องเลิกให้ขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศไทยอยู่ที่การกดค่าแรงคนไทยด้วยกัน ขีดการแข่งขันในประเทศไทย คือการที่มีบุคลากรที่มีความสามารถ ในการทำงานเกี่ยวกับเรื่องวิศวะ เรื่องเศรษฐกิจสร้างสรรค์ มีโครงสร้างพื้นฐานที่ดี มีตลาดรองรับในประเทศที่ดี ไม่จำเป็นต้องผลิตเพื่อการส่งออกเพียงอย่างเดียว ต้องผลักดันให้มีเขตการค้าเสรี (FTA) ไทย – อียู อย่างที่เวียดนามมี เราจะปล่อยเหมือนในอดีตให้ขีดการแข่งขันของประเทศไทยอยู่ที่ค่าแรงถูกอีกต่อไปไม่ได้