จากกรณี นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ได้โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊ก แจ้งข่าวว่า "ไทยชนะคดีโฮปเวลล์"ฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายในการยกเลิกสัญญาจากกระทรวงคมนาคม และการรถไฟแห่งประเทศไทย เป็นค่าใช้จ่ายจากการเข้ามาลงทุนเป็นเงิน 56,000 ล้านบาท
“พีระพันธุ์” โพสต์แจ้งข่าว ไทยชนะคดี “โฮปเวลล์”
ครม. มีมติรับทราบ ลดค่าไฟลงอีกในรอบบิล เดือน ก.ยคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง. เหลือ 3.99 บาท
พีพีทีวี เอชดี 36 พาย้อนดู โครงการ “โฮปเวลล์” หรือ โครงการระบบการขนส่งทางรถไฟยกระดับในกรุงเทพมหานคร
โครงการ “โฮปเวลล์” เกิดขึ้นเมื่อปี 2533 ในสมัยรัฐบาล พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นนายกรัฐมนตรี และมีนายมนตรี พงษ์พานิช เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
โครงการ “โฮปเวลล์” เกิดขึ้นเพื่อ?
โครงการ “โฮปเวลล์” เป็นการเปิดประมูลสัมปทานก่อสร้างทางยกระดับ เพื่อแก้ปัญหาการจราจร ตามสัญญาผู้รับสัมปทานจะมีรายได้จากค่าโดยสารรถไฟฟ้า ค่าผ่านทาง และรายได้จากอสังหาริมทรัพย์ตลอดเส้นทาง และผลการประมูลครั้งนั้น บริษัท โฮปเวลล์โฮลดิงส์ ของนาย กอร์ดอน วู ประธานบริหารโฮปเวลล์ โฮลดิ้ง ยักษ์ใหญ่วงการก่อสร้างของฮ่องกง เป็นผู้ชนะ
การได้บริษัท โฮปเวลล์ มาเป็นผู้ก่อสร้างนี้เหมือนจะเป็นผลดี เมื่อผู้ลงทุนออกแบบเองทั้งหมด โดยใช้วงเงินลงทุนทั้งโครงการประมาณ 8 หมื่นล้านบาท ใช้เวลาก่อสร้างทั้งสิ้น 8 ปี อายุของสัมปทาน 30 ปี มีกำหนดตั้งแต่ 6 ธันวาคม 2534 – 5 ธันวาคม 2542 โดย แบ่งเป็น 5 ระยะทางรวมทั้งสิ้น 60.1 กิโลเมตร
แต่ปรากฏว่า การก่อสร้างเป็นไปอย่างล่าช้า ประกอบกับปัญหาหลายเรื่อง
กระทั่งหลังรัฐประหารในปี 2534 รัฐบาลนายอานันท์ ปันยารชุน ได้เข้ามาตรวจสอบสัญญาสัมปทานทั้งหมด ก่อนประกาศล้มโครงการ แม้ต่อมา รัฐบาลนายชวน หลีกภัย จะผลักดันโครงการต่อ แต่สุดท้าย ก็ยกเลิกสัมปทานอย่างเป็นทางการ เมื่อ 20 มกราคม 2541 ทำให้ต่อมา บริษัทโฮปเวลล์โฮลดิ้ง ได้ฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายในการยกเลิกสัญญา จนกลายเป็นคดีความยืดเยื้อมาโดยตลอด
ปี 2551 อนุญาโตตุลาการ ชี้ขาดให้ กระทรวงคมนาคม โดย รฟท. ต้องจ่ายค่าเสียหายให้บริษัท โฮปเวลล์ 11,888 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ย 7.5% ต่อปี
ปี 2557 ศาลปกครองกลาง เพิกถอนคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ
วันที่ 22 เม.ย.2562 ศาลปกครองสุงสุดพิพากษาให้ กระทรวงคมนาคม โดย รฟท. ทำตามคำสั่งอนุญาโตตุลาการ คืนเงินชดเชยแก่บริษัท โฮปเวลล์ 11,888 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ย 7.5% ต่อปี
ภายหลังรับทราบคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี (ในขณะนั้น)ยอมรับว่าปัญหาไม่ว่าจะเกิดในรัฐบาลใด รัฐบาลปัจจุบันก็ต้องรับผิดชอบแก้ไขปัญหา ซึ่งขณะนี้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกำลังเจรจากันอยู่
ปี 2563 ศาลปกครองสูงสุดไม่รับคำฟ้องให้พิจารณาใหม่ ผลยืนตามคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการ รัฐต้องชดใช้เงิน11,888 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี และเงินอื่นๆ รวมมากว่า 2.4 หมื่นล้านบาท
ปี 2564ศาลรัฐธรรมนูญ มีมติเสียงข้างมาก ให้มติที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ขัดรัฐธรรมนูญ กรณีให้กระทรวงคมนาคมและการรถไฟแห่งประเทศไทย จ่ายค่าโฮปเวลล์ รวมมากว่า 2.4 หมื่นล้านบาท
โดย ศาลรัฐธรรมนูญโดยมติเสียงข้างมากวินิจฉัย มติที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดครั้งที่ 18/2545 เรื่อง ปัญหาเกี่ยวกับระยะเวลาการฟ้องคดีปกครองเป็นการออกระเบียบตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มาตรา 44 แต่มิได้ดำเนินการตามมาตรา 5 และมาตรา 6 วรรคหนึ่ง จึงขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 3 วรรคสอง และมาตรา 197 วรรคสี่
2566 ศาลปกครองกลางพิพากษาให้เพิกถอนคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการ
ล่าสุด (18 ก.ย.2566) สำนักงานศาลปกครองกลาง เปิดเผยว่าศาลปกครองกลางพิจารณาคดีโฮปเวลล์ใหม่ครั้งที่ 63/2566 โดยมีคำพิพากษาให้เพิกถอนคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการที่ให้กระทรวงคมนาคมและการรถไฟแห่งประเทศไทยชดใช้ค่าเสียหายแก่บริษัทโฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จำกัด เนื่องจากการใช้สิทธิเรียกร้องของบริษัทดังกล่าวขาดอายุความตามกฎหมาย ซึ่งเป็นคำพิพากษาที่ย้อนไปถึงจุดเริ่มต้น มหากาพย์คดีโฮปเวลล์
"ผลสอบ ก.พ.66” รอบ Paper & Pencil ประกาศแล้ว เช็กรายชื่อได้ ที่นี่ !
ผลวอลเลย์บอลหญิงไทย สุดต้านแพ้ สหรัฐอเมริกา 0-3 นัดสองศึกคัดเลือกโอลิมปิก 2024
เปิดสถิติหวยออกย้อนหลัง 15 ปี งวด 1 ตุลาคม