การลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลและการปล่อยคาร์บอนในอุตสาหกรรมผลิตไฟฟ้าถูกมองว่ามีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการบรรลุเป้าหมายสภาพภูมิอากาศทั่วโลก โดยกว่า 100 ประเทศ ได้เห็นพ้องในการประชุม COP28 ที่นครดูไบ เมื่อปีที่แล้ว ที่จะเพิ่มกำลังการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน 3 เท่าภายในปี 2030

รายงานโกลบอล อิเล็กทริซิตี รีวิว (Global Electricity Review) ของเอ็มเบอร์ (Ember) องค์กรวิจัยด้านสิ่งแวดล้อมและพลังงานสะอาดระดับโลก ชี้ว่า การผลิตไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานทดแทนในปีที่แล้ว คิดเป็นสัดส่วน 30.3% ของการผลิตไฟฟ้าทั่วโลก

สัดส่วนดังกล่าวเพิ่มขึ้นจาก 29.4% ในปี 2022 เนื่องจากจำนวนโครงการและกำลังการผลิตที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะพลังงานแสงอาทิตย์

เดฟ โจนส์ ผู้อำนวยการฝ่ายข้อมูลเชิงลึกทั่วโลกของเอ็มเบอร์ระบุว่า กำลังผลิตจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่เพิ่มขึ้นในปี 2023 ปลดล็อกความเป็นไปได้ที่จะบรรลุเป้าหมายปี 2030 ได้จริงๆ

กำลังผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลมปีที่แล้วมากกว่าครึ่งมาจากประเทศจีน

ขณะที่การผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์และพลังงานลมทั่วโลกเพิ่มขึ้น 23.2% และ 9.8% ตามลำดับ

อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญระบุว่า ปัญหาเกี่ยวกับการเชื่อมต่อกริดและการออกใบอนุญาตโครงการใหม่ ๆ จำเป็นต้องได้รับการแก้ไข หากจะบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้

รายงานยังคาดการณ์ด้วยว่า การเติบโตของพลังงานทดแทนอย่างต่อเนื่องจะทำให้การผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงฟอสซิลลดลง 2% ในปีนี้ และผลักดันให้สัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงฟอสซิลลงไปอยู่ต่ำกว่า 60% ของการผลิตไฟฟ้าทั้งหมดทั่วโลกเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2000 ที่ทางเอ็มเบอร์เริ่มมีการเก็บข้อมูล

การใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลในภาคการผลิตไฟฟ้าที่ลดลงถาวรในระดับโลก ตอนนี้เป็นสิ่งที่แน่นอนแล้ว และจะนำไปสู่การปล่อยคาร์บอนจากภาคการผลิตไฟฟ้าที่ลดลง

ลามหนัก! ไฟไหม้ถังเก็บสารโซลีนมาบตาพุด เสียชีวิตแล้ว 1 ราย อลหม่านทั้งเมือง

วิธีรับมือภัยพิบัติสารเคมี จากเหตุเพลิงไหม้-โรงงานระเบิด และสัมผัสสารพิษ!

เริ่มแล้วคำพูดจาก สล็อต888! สอบครูผู้ช่วย 2567 เปิดรับสมัครแล้ววันนี้ ถึง 14 พ.ค. 67 คำพูดจาก เว็บตรงไม่ผ่านเอเย่นต์

By admin