“ขาเทียม” เปรียบเสมือนกับอวัยวะที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งของผู้พิการขาขาด ที่ช่วยให้ผู้พิการเหล่านี้สามารถกลับมาดำเนินชีวิตประจำวัน รวมถึงประกอบอาชีพได้ใกล้เคียงเหมือนกับคนปกติทั่วไป และยิ่งถ้าเป็นขาเทียมที่มีคุณภาพดีด้วยแล้ว นั่นก็จะยิ่งช่วยให้คุณภาพชีวิตให้ผู้พิการดีขึ้น เพียงแต่ขาเทียมคุณภาพสูงนั้น ยังมีข้อจำกัดในเรื่องราคา เพราะในการผลิตขาเทียม ที่ได้มาตรฐานระดับสากลมีกระบวนการละเอียดซับซ้อน และที่สำคัญต้องใช้เม็ดพลาสติกที่มีคุณภาพ เพื่อเป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิตขาเทียมคุณภาพดี ในปัจจุบันยังมีผู้พิการขาขาดหลายคนเข้าไม่ถึงขาเทียมคุณภาพที่ดีเหล่านี้ บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) หรือ IRPC ได้เล็งเห็นถึงอุปสรรคนี้ จึงได้ริเริ่ม “โครงการขาเทียม” ขึ้น ด้วยมุ่งหวังที่ให้ผู้พิการขาขาดเข้าถึงขาเทียมได้มากขึ้น อีกทั้งยังช่วยในด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้แก่ผู้พิการ ซึ่งเป็นโครงการเพื่อสังคมที่มีอายุยาวนานกว่า 1 ทศวรรษแล้ว เราก็จะพาไปสัมผัสกับเรื่องราวที่พิเศษของโครงการนี้กัน…
IRPC ได้เข้ามาสานต่อเจตนารมณ์ของมูลนิธิขาเทียมในสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เพื่อให้บริการทําขาเทียมทุกระดับให้กับผู้พิการขาขาดโดยไม่คิดมูลค่า เพื่อให้ผู้พิการ ได้มีขาเทียมที่ดีสวมใส่ สามารถช่วยเหลือตนเองได้ และไม่เป็นภาระต่อสังคม ด้วยการบริจาคเม็ดพลาสติกที่ได้จากการค้นคว้าวิจัยและพัฒนาร่วมกับมูลนิธิขาเทียมฯ นำไปเป็นวัตถุดิบสำคัญที่ใช้ในการผลิตขาเทียมต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2554 โดยส่งต่อให้กับบริษัท อีสเทิร์น โพลีแพค จำกัด (EPP) ผู้ผลิตและจำหน่ายบรรจุภัณฑ์พลาสติก บริษัทย่อยของบริษัท อีสเทิร์นโพลีเมอร์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ EPG เพื่อนำไปผลิตเป็นแผ่นพลาสติก ก่อนส่งต่อไปให้กับมูลนิธิขาเทียมฯ สํานักงานใหญ่ จ.เชียงใหม่ และหน่วยทําขาเทียมพระราชทานเคลื่อนที่ รวมถึงโรงงานทําขาเทียมพระราชทาน ซึ่งตั้งอยู่ตามโรงพยาบาลทั่วประเทศจํานวน 94 แห่ง นำไปหลอมและขึ้นรูปเบ้าขาเทียมจากพลาสติก เพื่อผลิตเป็นขาเทียม ตั้งแต่ปี 2554 ถึง 2564 ผลิตขาเทียมให้ผู้พิการได้แล้วทั้งสิ้น จำนวน 32,632 ขา นับเป็นความร่วมมือสำคัญของผู้ผลิตตั้งแต่ต้นน้ำและกลางน้ำที่มีเป้าหมายเดียวกันในการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์
นอกจากนั้น ยังได้ให้การสนับสนุนมูลนิธิขาเทียมฯ ในเรื่องต่างๆ เพิ่มเติม อาทิ บริจาครถบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์ เพื่อใช้ในภารกิจออกหน่วยทำขาเทียมพระราชทาน การมอบเครื่องบดพลาสติกเพื่อใช้สำหรับย่อยเศษชิ้นส่วนพลาสติก Polypropylene ที่เกิดจากกระบวนการผลิตขาเทียม ซึ่งมีขนาดใหญ่และยากต่อการบริหารจัดการในเรื่องขยะพลาสติก และนำเศษพลาสติกที่ทางมูลนิธิฯ ทำการบดเรียบร้อยแล้ว กลับมาเข้าระบบรีไซเคิล ที่ถือเป็นการลดการเกิดขยะตั้งแต่ต้นทางอีกด้วย และที่สำคัญนอกจากความตั้งใจที่จะช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้พิการขาขาดในประเทศไทยแล้ว ยังได้มีการขยายความช่วยเหลือไปสู่ต่างประเทศ เช่น ในประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ มาเลเซีย พม่า กัมพูชา อีกด้วย ซึ่งเป็นพันธกิจที่สำคัญของมูลนิธิ ขาเทียมฯ ที่มีเจตนารมณ์ในการให้ความช่วยเหลือแก่ผู้พิการ โดยไม่แบ่งแยกเชื้อชาติและศาสนาด้วยคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
ทั้งนี้ นอกจากการสนับสนุนด้านต่าง ๆ มาอย่างต่อเนื่องแล้ว IRPC เล็งเห็นปัญหาของผู้พิการขาขาดในอดีต นั่นคือ ความเจ็บปวดจากบาดแผลที่เกิดขึ้นจากการเสียดสี ขณะที่ใช้งานขาเทียม จนทำให้ผู้พิการส่วนหนึ่งปฏิเสธที่จะใช้งานขาเทียมต่อ และหันกลับไปใช้ไม้ค้ำยันหรือการนั่งรถเข็นแทน รวมทั้งปัญหาจากขั้นตอนการผลิตขาเทียมนั้น ต้องมีการปรับแก้ไขหลายครั้ง เพื่อให้ได้ขาเทียมที่แนบสนิทกับตอขาของผู้พิการ ส่งผลให้ผู้พิการขาขาดต้องรอคอยเป็นเวลานาน
IRPC และมูลนิธิขาเทียมฯ จึงได้ร่วมกันวิจัยพัฒนาเพื่อค้นหานวัตกรรม ที่จะช่วยลดปัญหากับข้อจำกัด ที่เกิดขึ้นจนเกิดเป็นผลงาน “นวัตกรรมพลาสติกเพื่อคนพิการ” เม็ดพลาสติก Polypropylene Random Copolymer 3340H สําหรับใช้ผลิตเบ้าขาเทียม โดยนวัตกรรมดังกล่าวมีจุดเด่นคือ มีคุณสมบัติที่โปร่งแสง มีความยืดหยุ่น มีพื้นผิวที่เรียบลื่นเพิ่มขึ้น และมีน้ำหนักเบาขึ้น ซึ่งช่วยให้ประเทศไทยสามารถผลิตขาเทียมคุณภาพสูงได้เองภายในประเทศ และด้วย “ความพิเศษ” ของ เม็ดพลาสติก Polypropylene ที่มีความโปร่งแสงนี้ จึงทำให้ช่างขาเทียมสามารถมองเห็นความพอดีในการนำเบ้าขาเทียมไปแนบกับตอขาได้ด้วยตาเปล่าอย่างชัดเจน ซึ่งแตกต่างไปจากขาเทียมในอดีต ที่มักจะเป็นวัสดุทึบแสง จนมักจะทำให้เกิดปัญหาความไม่พอดีในขณะสวมใส่เบ้าขาเทียมกับตอขา ขณะที่คุณสมบัติพิเศษอีกประการ คือ การมีพื้นผิวสัมผัสที่เรียบลื่น น้ำหนักเบา และมีความยืดหยุ่น จึงช่วยลดการเกิดบาดแผลถลอกที่เกิดขึ้นจากการเสียดสีในขณะที่ใช้งาน ทำให้ไม่ต้องเผชิญความเจ็บปวดจากบาดแผลดังกล่าว
ด้วยคุณสมบัติดังกล่าวทำให้ผลงานนี้ได้รับ รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 รางวัลนวัตกรรมแห่งชาติ ประจําปี 2563 ด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม (ประเภทองค์กรขนาดใหญ่) ดังนั้น จึงสามารถบอกได้ว่าผลงานนี้เป็น “นวัตกรรมเพื่อสร้างรอยยิ้ม” ที่มาพร้อมการ “สร้างโอกาสให้ผู้พิการ”
นอกจากนี้ เพื่อลดการเกิดขยะตั้งแต่ต้นทาง เพราะ ขาเทียมที่ผลิตจากเม็ดพลาสติก Polypropylene เมื่อเกิดการชำรุดเสียหาย หรือมีเศษชิ้นส่วนหลงเหลือจากกระบวนการผลิตขาเทียม สามารถจะนำกลับมาเข้าสู่ระบบรีไซเคิลใหม่ได้ และสามารถนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตกายอุปกรณ์เสริมอื่น ๆ ของผู้พิการได้ใช้ประโยชน์ต่อไป
ทั้งนี้ สำหรับผู้ที่สนใจรับบริการทำขาเทียม สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ มูลนิธิขาเทียม ในสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี (สำนักงานเชียงใหม่) โทร.053–112–271 วันจันทร์–ศุกร์ เวลา 08.00 น.-17.00 น. (หยุดทำการวันเสาร์–อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์) หรือผ่านทางช่องทางเวปไซต์ www.prosthesesfoundation.or.th และช่องทาง Facebook มูลนิธิขาเทียม Prostheses Foundation of HRH the Princess Mother
ทั้งหมดนี้ก็เป็นเรื่องราวดี ๆ ของ “โครงการขาเทียม IRPC” ที่ได้ดำเนินงานร่วมกับ มูลนิธิขาเทียมฯ เพื่อมอบหัวใจแห่งโอกาสให้ผู้พิการขาขาดกลับมาก้าวเดินใหม่ได้อีกครั้ง.คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง